วันเสาร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

The Seasons



การเกิดฤดูกาล 


เรื่องการเกิดฤดูกาล เกิดขึ้นได้อย่างไร






                 ฤดูหรือฤดูกาล เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นเนื่องจาก แกนของโลกที่หมุนรอบตัวเองเอียงทำมุม 23.5 องศา กับแนวซึ่งตั้งฉากกับแนวโคจรรอบดวงอาทิตย์ ทำให้ตำแหน่งที่รังสีดวงอาทิตย์ ตกตั้งฉากกับพื้นโลกเปลี่ยนไปตามช่วงเวลาของแนวทางการโคจร โดยมีตำแหน่งตั้งฉากเหนือสุดที่ 23.5 N เมื่อตำแหน่งดวงอาทิตย์เลื่อนขึ้นอยู่ในซีกโลกเหนือ และมีตำแหน่งใต้สุดที่ละติจูด 23.5 S เมื่อตำแหน่งดวงอาทิตย์เลื่อนลงไปอยู่ในซีกโลกใต้ สาเหตุ ดังกล่าวทำให้พื้นที่ต่าง ๆ บนพื้นโลกในแต่ละช่วงเวลามีอุณหภูมิแตกต่างกันไป จนสามารถแบ่งช่วงเวลาของโอโซน และภาวะเรือนกระจก การเกิดฤดูตามเขตต่าง ๆ ได้โดยพิจารณาตำแหน่งการโคจรของดวงอาทิตย์เป็นเกณฑ์ 


ฤดูกาลของโลก

                 แหล่งพลังงานความร้อนที่สำคัญที่โลกได้รับคือดวงอาทิตย์ ซึ่งพลังงานความร้อนที่โลกได้รับนี้ ก่อให้เกิดกระบวนการต่าง ๆ ทางบรรยากาศของโลกมากมาย รวมตลอดถึงการเกิดฤดูกาลบนผิวพื้นโลกด้วย ทั้งนี้เนื่องจากแกนโลกเอียงจากแนวดิ่ง 23 องศา ตลอดเวลาที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์นั่นคือ ขณะที่โลกเคลื่อนที่ไปก็เอียงไปด้วย โดยจะหันขั้วโลกเหนือและใต้เข้าหาดวงอาทิตย์สลับกัน ทำให้พลังงานความร้อน จากดวงอาทิตย์ที่ตกลงบนผิวพื้นโลกในรอบปี ในแต่ละพื้นที่ไม่เท่าเทียมกัน ขั้วโลกที่หันเข้าหาดวงอาทิตย์จะได้รับพลังงานความร้อน จากดวงอาทิตย์มากกว่า จะเป็นฤดูร้อน ส่วนขั้วโลกที่หันออกจากดวงอาทิตย์ จะได้รับพลังงานความร้อนจากดวงอาทิตย์น้อยกว่า จะเป็นฤดูหนาว ดังแสดงในรูปที่ 1

ถ้าโลกไม่เอียง บริเวณขั้วโลกทั้ง จะได้รับพลังงานความร้อนจากดวงอาทิตย์น้อยมากตลอดปี ขณะที่ที่เส้นศูนย์สูตรจะได้รับสูงมากตลอดปี แต่เนื่องจากแกนโลกเอียงดังกล่าวแล้ว ทำให้การกระจายของพลังงานความร้อนจากดวงอาทิตย์เปลี่ยนแปลงไปในรอบปี

แนวโคจรของดวงอาทิตย์บนท้องฟ้ามีอิทธิพลต่อมุมของลำแสงที่ตกกระทบบนพื้นผิวโลก กล่าวคือบริเวณใดที่มีลำแสงตั้งฉากตกกระทบ บริเวณนั้นจะได้รับพลังงานความร้อน มากกว่าบริเวณที่มีลำแสงเฉียงตกกระทบ ทั้งนี้เพราะลำแสงเฉียงจะครอบคลุมพื้นที่ มากกว่าลำแสงตั้งฉากที่มีลำแสงขนาดเดียวกัน จึงทำให้ความเข้มของพลังงานความร้อน ในบริเวณที่มีลำแสงตั้งฉากตกกระทบ จะมากกว่าบริเวณที่มีลำแสงเฉียงตกกระทบ ดังแสดงในรูปที่ นอกจากนี้ลำแสงเฉียง จะผ่านชั้นบรรยากาศที่หนากว่าลำแสงดิ่ง ดังนั้นฝุ่นละออง ไอน้ำในอากาศจะดูดกลืนความร้อนบางส่วนไว ้และสะท้อนความร้อนบางส่วนออกไปยังบรรยากาศภายนอก จึงทำให้ความเข้มของพลังงานความร้อนที่ตกกระทบผิวพื้นโลกของลำแสงเฉียงน้อยลง เพราะฉะนั้นในฤดูหนาวอากาศจึงหนาวเย็น เพราะความเข้มของแสงอาทิตย์น้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับในฤดูร้อน เพราะได้รับแสงในแนวเฉียงตลอดเวลา

ลำแสงของดวงอาทิตย์ตกกระทบตั้งฉากกับผิวพื้นโลกได้ เฉพาะระหว่างเส้นละติจูด 23 องศา เหนือ ถึง 23 องศา ใต้เท่านั้น ดังนี้
วันที่ 21 - 22 มีนาคม
ลำแสงของดวงอาทิตย์จะตั้งฉากที่เส้นละติจูด องศา (เส้นศูนย์สูตร)
วันที่ 21 - 22 มิถุนายน
ลำแสงของดวงอาทิตย์จะเลื่อนขึ้นไปตั้งฉากที่เส้นละติจูด 23 องศาเหนือ
วันที่ 22 - 23 กันยายน
ลำแสงของดวงอาทิตย์จะเลื่อนลงมาตั้งฉากที่เส้นละติจูด องศา อีกครั้งหนึ่ง
วันที่ 21 - 22 ธันวาคม
ลำแสงของดวงอาทิตย์จะเลื่อนลงไปตั้งฉากที่เส้นละติจูด 23 องศา ใต้







รูปที่ แนววงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์





รูปที่ มุมตกกระทบของลำแสงดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นสาเหตุให้ความเข้มของพลังงานจากดวงอาทิตย์ที่ตกลงถึงผิวพื้นโลกแตกต่างกัน ลำแสงที่ตกกระทบทำมุมสูงกว่าความเข้มของพลังงานจากดวงอาทิตย์จะมากกว่า


ตำแหน่งร่องความกดอากาศต่ำ ทิศทางมรสุมและทางเดินพายุหมุนเขตร้อน
ที่เคลื่อนผ่านประเทศไทย ดังแสดงในรูปที่ 3


รูปที่ 3 ตำแหน่งร่องความกดอากาศต่ำ ทิศทางลมมรสุมและทางเดินพายุหมุนเขตร้อน


สาเหตุการเกิดฤดูกาล

    1. ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมีผลทำให้มีอากาศหนาวเย็นกว่าภาคอื่น ๆ     2. ลมพายุหมุน ส่วนใหญ่เป็นพายุดีเปรสชันจากทะเลจีนใต้จังทำให้มีฝนตกเป็นบริเวณกว้าง     3. ระยะใกล้ไกลทะเล จะทำให้อากาศมีความแตกต่างกันระหว่างฤดูร้อนและฤดูหนาวมาก เนื่องจากไม่มีพื้นที่ติดต่อกับทะเล     4. การวางตัวของภูเขาดงพญาเย็นและสันกำแพง ซึ่งวางตัวในแนวเหนือ-ใต้กั้นลมฝนจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้




ฤดูร้อน

                      ฤดูร้อนอยู่ในช่วงระหว่างเดือนกุมภาพันธ์และเดือนพฤษภาคม โดยได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันออกเฉียงใต้จากทะเลจีนใต้และอ่าวไทย เนื่องจากระยะทางที่ห่างไกลจากทะเลพอสมควร ทำให้ลักษณะอากาศค่อนข้างร้อนและแห้งแล้ง จังหวัดที่มีอุณหภูมิสูงสุดคือจังหวัดอุดรธานี

ฤดูฝน

                     ฤดูฝนอยู่ในช่วงระหว่างเดือนพฤษภาคมและเดือนตุลาคม โดยได้รับอิทธิพลจากความกดอากาศต่ำ จังหวัดที่ได้รับปริมาณน้ำฝนมากที่สุดคือจังหวัดนครพนม และจังหวัดที่มี่ปริมาณน้ำฝนน้อยที่สุดคือจังหวัดนครราชสีมา ปริมาณน้ำฝนส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในช่วงเดือนสิงหาคมและกันยายน อย่างไรก็ตาม ปริมาณฝนที่ตกในภูมิภาคนี้นั้นไม่สามารถจะคาดเดาได้ เพราะมีปริมาณไม่สม่ำเสมอ โดยปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปี มีความแตกต่างกันจาก 2,000 มิลลิเมตร ในบางพื้นที่ ไปจนถึง 1,270 มิลลิเมตร ในจังหวัดที่อยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของภูมิภาค อย่าง บุรีรัมย์ ชัยภูมิ ขอนแก่น มหาสารคาม และนครราชสีมา ในฤดูฝน สถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติบางแห่งปิดทำการในบางช่วง เพราะเป็นช่วงเวลาที่ต้นไม้นานาชนิดกำลังต้องการการเจริญเติบโตขึ้นมาใหม่ และอาจเป็นอันตรายต่อนักท่องเที่ยว ในกรณีที่เกิดเหตุน้ำท่วมหรือดินถล่ม

ฤดูหนาว

                           ฤดูหนาวอยู่ในช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ โดยได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ในช่วงตั้งแต่ต้นเดือนจนถึงปลายเดือนตุลาคมยังมีฝนตกอยู่ จากนั้นลมหนาว และความกดอากาศสูงที่เคลื่อนตัวมาจากประเทศจีน จะเข้าครอบคลุมพื้นที่ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย อากาศจะค่อนข้างเย็นในช่วงเวลากลางคืน อุณหภูมิที่ต่ำที่สุดในประเทศไทยอยู่ที่จังหวัดเลย
หากเราเฝ้ามองการเปลี่ยนแปลงของกลางวันกลางคืนตลอดในช่วง 1 ปี จะเห็นความยาวนานของกลางวันและกลางคืนเปลี่ยนไปในแต่ละวัน เหตุที่เป็นเช่นนี้เป็นผลมาจากแกนหมุนของโลกเอียง ทำให้แต่ละส่วนบนผิวโลกรับแสงอาทิตย์ในปริมาณที่แตกต่างกัน ความยาวนานของกลางวันกลางคืนจึงต่างกันด้วย บางช่วงทางซีกโลกเหนือได้รับแสงอาทิตย์นานกว่า
แต่บางช่วงทางซีกโลกใต้ได้รับแสงอาทิตย์นานกว่า จึงเกิดฤดูกาลที่แตกต่างกันขึ้นบนโลก เราจะสังเกตได้ว่าในช่วงฤดูร้อน กลางวันจะยาวนานกว่ากลางคืน ดวงอาทิตย์จะขึ้นเร็วและตกช้า  ส่วนในช่วงฤดูหนาว  กลางคืนจะยาวนานกว่ากลางวัน  โดยดวงอาทิตย์จะขึ้นช้าและตกเร็ว ดังแสดงในรูปที่ 1



รูปที่ 1 แสดงตำแหน่งของโลกในช่วงฤดูร้อน (June หรือ Summer Solstice)

และช่วงฤดูหนาว (December หรือWinter Solstice)





     ในหนึ่งปีจะมีกลางวันและกลางคืนที่ยาวนานเท่ากัน 2 ครั้งเท่านั้น คือ ยาวนาน 12 ชั่วโมงเท่ากัน  วันดังกล่าวเรียกว่า Equinox  คำว่า equinoxมีรากศัพท์มาจากภาษาละติน 2 คำ คือ aequus แปลว่า เท่ากันและ nox แปลว่า กลางคืน ดังนั้นจึงแปลรวมกันว่ากลางวันยาวนานเท่ากับกลางคืนส่วนไทยเราเรียกว่า วิษุวัตแปลว่า "จุดราตรีเสมอภาค" หมายถึงช่วงเวลากลางวัน เท่ากับกลางคืนพอดี โดยเกิดในช่วงเริ่มต้นของฤดูใบไม้ผลิและฤดูใบไม้ร่วง จึงเรียกว่า Vernal Equinox (วสันตวิษุวัต) และ Autumnal Equinox(ศารทวิษุวัต) ดังแสดงในรูปที่ 2


รูปที่ 2แสดงตำแหน่งของโลกในช่วงฤดูใบไม้ผลิ (March หรือ Vernal Equinox)
และช่วงฤดูใบไม้ร่วง (September หรือAutumnal Equinox)





     ในแต่ละวัน  เรามองเห็นดวงอาทิตย์ขึ้นในตอนเช้าและตกในตอนเย็น  รวมทั้งมองเห็นการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์เสมือนเคลื่อนอยู่ในเส้นทางเส้นหนึ่ง เส้นทางดังกล่าวในทางดาราศาสตร์เรียกว่า เส้นสุริยะวิถี” (ecliptic) เกิดจากการที่โลกหมุนรอบตัวเองและหมุนรอบดวงอาทิตย์ ส่วนการที่แกนหมุนของโลกเอียงจะทำให้เส้นศูนย์สูตรของโลกไม่อยู่ในแนวเดียวกับระนาบวงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์หรือระนาบสุริยะวิถี (ecliptic plane) แต่จะตัดกับเส้นสุริยะวิถี  เกิดจุดตัด 2 บริเวณ คือ vernal equinox และ autumnal equinox ดังแสดงในรูปที่ 3


รูปที่ 3แสดงการเคลื่อนที่ของโลกรอบดวงอาทิตย์บนระนาบสุริยะวิถี


           เมื่อเรามองจากโลกจะเห็นเสมือนว่า ดวงอาทิตย์เคลื่อนจากจุด vernal equinoxช่วงวันที่ 20-21 มีนาคม ไปยังซีกโลกเหนือสุดที่จุด summer solstice ในช่วงวันที่ 20-21 มิถุนายน แล้วย้อนกลับลงมาที่จุดautumnal equinox ในช่วงวันที่ 22-23 กันยายนและเคลื่อนไปยังซีกโลกใต้สุดที่จุด winter solstice ในช่วงวันที่ 21-22 ธันวาคม  แล้วย้อนกลับไปที่จุด vernal equinoxช่วงวันที่ 20-21 มีนาคมของปีถัดไป โดยจะมองเห็นดวงอาทิตย์เคลื่อนที่ซ้ำเส้นทางเดิมถือว่าครบหนึ่งรอบใช้เวลา 1 ปีหรือประมาณ 365 วัน เกิดฤดูใบไม้ผลิ(vernal หรือ spring) ฤดูร้อน(summer) ฤดูใบไม้ร่วง(autumnal หรือ fall) และฤดูหนาว(winter) ตามลำดับแล้วกลับมาที่ฤดูใบไม้ผลิอีกครั้งเป็นวัฏจักรเช่นนี้เรื่อยไป ดังแสดงในรูปที่ 4





รูปที่ 4กราฟแสดงการเคลื่อนที่ปรากฏของดวงอาทิตย์เมื่อมองจากโลกและการเกิดฤดูกาลในรอบปี




     ตามที่ได้กล่าวไปข้างต้นว่าวัน equinox หรือ วิษุวัตจะมีกลางวันยาวนานเท่ากับกลางคืนในทุกพื้นที่บนผิวโลก แต่ในความเป็นจริงกลางวันจะยาวนานกว่ากลางคืนเสมอแม้จะมองจากพื้นที่ต่างๆบนโลกก็ตาม  ทั้งนี้เนื่องมาจากปัจจัย 2 อย่างคือ
1.      การหักเหของแสงที่ชั้นบรรยากาศโลก
2.      ตำแหน่งที่สังเกต (ลองจิจูดและละติจูด)

     โดยปกติเมื่อมองจากโลก เราจะถือว่าดวงอาทิตย์เป็นจานวงกลมและนิยามของเวลากลางวันจะพิจารณาจากจุดศูนย์กลางของดวงอาทิตย์ที่โผล่พ้นขอบฟ้าในตอนเช้า จนจุดดังกล่าวตกลับจากขอบฟ้าในตอนเย็น แต่ในตอนรุ่งเช้านั้นขอบบนสุดของดวงอาทิตย์จะอยู่เหนือขอบฟ้าและในตอนหัวค่ำขอบสุดท้ายของดวงอาทิตย์ยังคงอยู่เหนือขอบฟ้าเช่นกัน ประมาณ 16 ลิปดา และเมื่อรวมกับผลจากการหักเหของแสงในชั้นบรรยากาศ จะทำให้ดวงอาทิตย์มีขนาดปรากฏใหญ่ขึ้นหรือมีรัศมีเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 34 ลิปดา รวมเป็น 50 ลิปดา ทำให้ก่อนดวงอาทิตย์ขึ้นและหลังตกดินไม่กี่นาที  ท้องฟ้าจึงไม่ได้มืดสนิทและไม่สามารถนับเป็นช่วงเวลากลางคืนได้ ดังนั้นที่บริเวณเส้นศูนย์สูตร (Equator) และที่อื่นๆ ก็ยังคงเห็นช่วงเวลากลางวันยาวนานกว่ากลางคืน แม้จะเป็นวันวิษุวัตก็ตาม ดังแสดงในรูปที่ 5


รูปที่ 5 แสดงการหักเหแสงของดวงอาทิตย์เมื่อผ่านชั้นบรรยากาศโลกก่อนมาถึงตำแหน่งที่เราสังเกต

ทำให้เราเห็นแสงดวงอาทิตย์ก่อนที่ดวงอาทิตย์จะขึ้นจากขอบฟ้า และยังเห็นแสงดวงอาทิตย์แม้ดวงอาทิตย์จะตกจากขอบฟ้าไปเพียงไม่กี่นาที



          นอกจากนี้ เวลาที่ดวงอาทิตย์ขึ้นและตกก็ไม่เท่ากันในแต่ละส่วนบนผิวโลก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับตำแหน่งลองจิจูดและละติจูดของผู้สังเกต  เช่น บริเวณที่อยู่เหนือเส้นศูนย์สูตรขึ้นไปทางซีกโลกเหนือ  จะเห็นกลางวันยาวนานเท่ากับกลางคืนก่อนถึงฤดูใบไม้ผลิ  และกลางวันจะยาวนานกว่ากลางคืนต่อเนื่องไปถึงหลังฤดูใบไม้ร่วง  ถ้าเราพิจารณาที่ช่วง equinox หรือ วิษุวัต  และเราอยู่ที่บริเวณเหนือเส้นศูนย์สูตรขึ้นไปทางซีกโลกเหนือ ประมาณ 25 องศา  เราจะเห็นกลางวันยาวนานกว่ากลางคืน ประมาณ 7นาที  และจะต่างกันมากขึ้นเมื่ออยู่บริเวณเหนือเส้นศูนย์สูตรตั้งแต่ 50 องศาขึ้นไป


บรรยากาศมีบทบาทต่อโลกอย่างไร


               อากาศที่มีอยู่รอบโลกของเรานี้ มีอยู่ตั้งแต่พื้นดินขึ้นไปจนถึงระดับสูง ๆ ในท้องฟ้า ใกล้พื้นดินอากาศจะมีความแน่นมาก ส่วนที่ระดับสูง ๆ จากพื้นดินขึ้นไปอากาศจะเล็กลงหรือเจือจางลง เช่น ที่ระดับสูงประมาณ 6 กิโลเมตรจากพื้นดิน จะมีอากาศจางลงและเหลือเพียงประมาณครึ่งหนึ่งของอากาศที่ผิวพื้นดิน ที่ระดับสูง 6 กิโลเมตรนี้ มนุษย์ต้องใช้หน้ากากออกซิเจนช่วยในการหายใจจึงจะมีชีวิตอยู่ได้
               นอกจากอากาศหรือบรรยากาศ จะมีความจำเป็นในการหายใจสำหรับชีวิตของมนุษย์และสัตว์แล้ว บรรยากาศยังมีหน้าที่ช่วยปกป้องโลกอีกหลายอย่าง เช่น
               บรรยากาศทำหน้าที่คล้ายเครื่องบังคับอุณหภูมิไม่ให้ร้อนหรือเย็นเกินไป บรรยากาศทำหน้าที่คล้ายร่มบังแสงจากดวงอาทิตย์ ทำให้พื้นโลกไม่ร้อนเกินไป และบรรยากาศยังสกัดกั้นรังสีอัลตราไวโอเลต ที่มีอันตรายจากดวงอาทิตย์ไม่ให้ผ่านลงมาถึงพื้นโลกมากเกินไปด้วย โดยบรรยากาศที่ระดับสูง ๆ จากพื้นดินทำหน้าที่กรองหรือดูดรังสีอัลตราไวโอเลต หรือแสงเหนือม่วงเอาไว้ รังสีอัลตราไวโอเลตหรือแสงเหนือม่วงมีอันตรายต่อ ร่างกายของมนุษย์ สัตว์ และพืช เพราะฉะนั้นรังสีที่ผ่านมาถึงพื้นโลกจึงมีแต่รังสีแสง ซึ่งช่วยให้เรามองเห็นและรังสีความร้อนเป็นส่วนใหญ่ 


บรรยากาศทำหน้าที่คล้ายเรือนกระจก





               บรรยากาศยอมให้รังสีจากดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นคลื่นสั้นผ่านเข้ามายังพื้นโลก เมื่อพื้นโลกรับรังสีจากดวงอาทิตย์แล้ว จะส่งรังสีออกไปอีกแต่เป็นรังสีคลื่นยาว รังสีคลื่นยาวที่ส่งออกมาจากพื้นโลกนี้ จะถูกบรรยากาศและไอน้ำดูดไว้เป็นส่วนมาก โดยเหตุนี้โลกจึงมีความอบอุ่นอยู่เสมอ มิฉะนั้นแล้วที่พื้นโลกจะร้อนเกินไปในเวลากลางวัน และจะหนาวเกินไปในเวลากลางคืน
               ในลักษณะเช่นนี้ บรรยากาศทำหน้าที่คล้ายเรือนกระจก สำหรับเพาะปลูกต้นไม้เมืองร้อนให้เติบโตได้ในเขตหนาว เรือนกระจกยอมให้รังสีคลื่นสั้นของดวงอาทิตย์ผ่านเข้ามาได้ แต่ไม่ยอมให้รังสีคลื่นยาวภายในเรือนกระจกผ่านออกไป ฉะนั้นภายในเรือนกระจกจึงอบอุ่นอยู่เสมอ และต้นไม้จากเขตร้อนจึงสามารถเติบโตในเขตหนาวได้


กลจักรสำคัญของบรรยากาศ


               ดวงอาทิตย์ โลก บรรยากาศและไอน้ำ ทั้ง 4 สิ่งนี้เป็นองค์ประกอบใหญ่ของ กลจักรบรรยากาศ (atmospheric engine) อันมหึมา ซึ่งทำให้เกิดการหมุนเวียน (circulation) และเกิดปรากฏการณ์ต่าง ๆ ของบรรยากาศหรือกาลอากาศ (weather phenomena) ขึ้นในโลกของเรา ดวงอาทิตย์ทำหน้าที่คล้ายเป็นเตาเชื้อเพลิงส่งความร้อนมายังพื้นโลก บริเวณพื้นโลกที่ได้รับความร้อนมากกว่า เช่น ที่บริเวณศูนย์สูตรก็จะทำให้บรรยากาศของบริเวณนั้นร้อนขึ้น เกิดการขยายตัว และลอยสูงขึ้นไป อากาศในบริเวณพื้นโลกที่ได้รับความร้อนน้อยกว่า และเย็นกว่าก็จะเคลื่อนตัวเข้ามาแทนที่ กรรมวิธีนี้ทำให้เกิดการหมุนเวียนของอากาศขึ้น นอกจากนี้แล้ว การหมุนรอบตัวของโลกประมาณทุก ๆ 24 ชั่วโมง การเอียงของแกนหมุนของโลก การโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ประมาณ 365 วัน รวมทั้งคุณสมบัติและความแตกต่างของพื้นดินและพื้นน้ำของโลก ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ จะทำให้การหมุนเวียนของบรรยากาศ ภูมิอากาศ และปรากฏการณ์ของบรรยากาศเกิดความยุ่งยากขึ้นนานาประการ และแตกแยกออกไปเป็นหลายต่อ หลายชนิด เช่น ลม ฝน พายุฟ้าคะนอง พายุไต้ฝุ่น เป็นต้น 


ปัจจัยที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์ของอากาศหรือกาลอากาศ


               การที่จะเกิดฝนตก พายุ หรือเมฆเต็มท้องฟ้านั้น จำต้องมีหลายสิ่งหลายอย่าง รวมกันเป็นต้นเหตุ สิ่งทำให้เกิดปรากฏการณ์ของอากาศมี 4 อย่างด้วยกัน คือ
               1. ดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นลูกไฟดวงใหญ่ (ดูเรื่องเกี่ยวกับดวงอาทิตย์) ดวงอาทิตย์เป็นสิ่งที่ให้ความร้อนแก่โลก ซึ่งมีทั้งพื้นดินและพื้นน้ำ ความร้อนจากดวงอาทิตย์ เป็นต้น เหตุที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์ต่าง ๆ ของอากาศ
               2. โลกของเราหมุนรอบตัวเองทำให้เกิดกลางวันซึ่งร้อน และเกิดกลางคืนซึ่งเย็นกว่า นอกจากนี้แล้ว โลกยังโคจรรอบดวงอาทิตย์ ด้วยระยะเวลาประมาณ 365 วัน (1 ปี) ต่อรอบการโคจรของโลกทำให้เกิดฤดูต่าง ๆ เช่น ฤดูร้อน ฤดูฝน ฤดูหนาว
               3. น้ำซึ่งเป็นแหล่งเกิดไอน้ำ พื้นโลกของเรามีน้ำอยู่มาก ความร้อนจากดวงอาทิตย์ จะทำให้น้ำระเหยเป็นไอน้ำ และลอยขึ้นไปในอากาศ เพราะฉะนั้นในอากาศจึงมีไอน้ำอยู่เสมอไม่มากก็น้อย
               4. อากาศหรือบรรยากาศ ซึ่งเป็นสิ่งที่เคลื่อนตัวและหอบเอาไอน้ำไปด้วย ทำให้เกิดปรากฏการณ์ของอากาศ ตามธรรมดาเรามองไม่เห็นอากาศ แต่เรารู้สึกว่ามีอากาศ เมื่อลมพัดถูกร่างกายของเรา เราคงเคยเห็นแล้วว่า ถ้าลมแรงจริง ๆ ลมอาจจะพัดให้ต้นไม้หรือเสาไฟฟ้าล้มได้
               สรุปได้ว่า ดวงอาทิตย์ โลก น้ำ (และไอน้ำ) และอากาศทั้ง 4 อย่างนี้ เป็นปัจจัยร่วมกัน ทำให้เกิดปรากฏการณ์ต่าง ๆ ของบรรยากาศหรือกาลอากาศที่เกิดขึ้นทุก ๆ วัน ถ้าขาด สิ่งใดสิ่งหนึ่งใน 4 อย่างนี้ ปรากฏการณ์ของอากาศจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้ เช่น บนดวงจันทร์ ซึ่งนักบินอวกาศของสหรัฐอเมริกาลงไปสำรวจนั้น ไม่มีอากาศอยู่ด้วย จึงไม่มีลม ไม่มีพายุ จึงไม่มีปรากฏการณ์ของอากาศเลย
               อากาศที่ห่อหุ้มโลกมีลักษณะการกระจายของความหนาแน่นและอุณหภูมิอย่างไร ในตำแหน่งระดับผิวโลกอากาศมีความหนาแน่นมากที่สุด และจะเบาบางตามลำดับเมื่อสูงจากผิวโลก ในขณะเดียวกันความหนาแน่นของอากาศ จะมีค่ามากที่สุดบริเวณขั้วโลก และลดความหนาแน่นลงตามลำดับ โดยมีค่าน้อยที่สุดในบริเวณเส้นศูนย์สูตร
               เนื่องจากโลกได้รับพลังงานความร้อนมากที่สุดในบริเวณศูนย์สูตร ดังนั้นอวกาศบริเวณศูนย์สูตร จะมีอุณหภูมิโดยเฉลี่ยสูงกว่าบริเวณอื่น ๆ และอากาศจะมีอุณหภูมิต่ำสุดบริเวณขั้วโลก โดยบริเวณศูนย์สูตรอุณหภูมิในฤดูร้อนเฉลี่ยประมาณ 30 C และบริเวณขั้วโลกประมาณ -1 C ส่วนในฤดูหนาวอุณหภูมิเฉลี่ยบริเวณศูนย์สูตรประมาณ 22 C และบริเวณขั้วโลกประมาณ -23 C สำหรับประเทศไทยอุณหภูมิเฉลี่ยในฤดูร้อนประมาณ 26 C ฤดูหนาวประมาณ 20 C ในขณะเดียวกันอุณหภูมิของอากาศบริเวณผิวโลก จะสูงกว่าอุณหภูมิของอากาศที่อยู่สูงขึ้นไปจากพื้นผิวโลก สำหรับอากาศบริเวณบ้านเรานั้น อุณหภูมิของอากาศจะลดลงประมาณ 6 ? 7 C/1 กม.
               พลังความร้อนที่บริเวณพื้นผิวโลกได้รับจากดวงอาทิตย์เฉลี่ยทั้งปี มีลักษณะการกระจายเป็นอย่างไร
               พลังงานความร้อนสุทธิที่ผิวโลกได้รับจากดวงอาทิตย์ เฉลี่ยทั้งปีมีค่าแตกต่างกันตามตำแหน่งของละติจูด โดยในเขตละติจูดต่าง ๆ ระหว่าง 30 N ? 30 S ผิวโลกได้รับพลังงานความร้อนเฉลี่ยประมาณ 140 W/m2 และลดลงเหลือประมาณต่ำกว่า 50 W/m2 ในบริเวณขั้วโลก ดังนั้นบริเวณในเขตละติจูดระหว่าง 30 N ? 30 S จึงมีอากาศร้อนกว่าอากาศในบริเวณอื่น ๆ ตลอดทั้งปี 


การเกิดฤดูกาล

               ฤดู ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานสถานให้ความหมายว่า ส่วนของปีแบ่ง ตามลักษณะของอากาศ ส่วนคำว่า กาล หมายความว่าเวลา ดังนั้น ฤดูกาลจึงอาจหมายถึง ช่วงในแต่ละปีที่แบ่งตามสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป เกิดขึ้นจากการโคจรรอบดวงอาทิตย์ของโลก  โลกจะเคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์ตลอดเวลาขณะเดียวกันโลกก็หมุนรอบตัวเอง  โดยหมุนจากตะวันออกไปตะวันตก  โดยที่แกนของโลกเอียงทำมุม 23 1/2  องศาตลอดเวลา  การโคจรรอบดวงอาทิตย์ของโลกทำให้บริเวณต่าง ๆ ได้รับแสงสว่างและความร้อนไม่เท่ากัน  ทำให้เกิดฤดูกาลสับกันไปในเวลา 1 ปี  หรือ 365 วัน  เมื่อรอบโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ครบ 1 รอบ




ทำไมจึง มีฤดูกาล



                โลก ของเราจะหมุนรอบตัวเองใช้เวลา 1 วัน ในขณะที่หมุนรอบตัวเองนั้น ก็จะหมุนรอบดวงอาทิตย์ด้วยซึ่งใช้เวลา 365 วัน ในการหมุนรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ แกนของโลกเรานั้นไม่ได้ตั้งตรง แต่จะเอียงทำมุมกับวงโคจรของมันเอง ด้วยเหตุนี้ในขณะที่โลกหมุนรอบดวงอาทิตย์อยู่ตามวงโคจรนั้น เมื่อโลกโคจรไปอยู่ในตำแหน่งแต่ละแห่ง ส่วนของโลกที่หันเข้าหาดวงอาทิตย์จะใช้เวลาที่แตกต่างกัน และนี่ก็คือสาเหตุที่ทำให้เกิดฤดูกาลขึ้นมา เช่น ในฤดูร้อนส่วนของโลกที่หันเข้าหาดวงอาทิตย์จะเป็นช่วงที่ยาวที่สุด (กลางวันนาน) และในเวลากลางคืนน้อยที่สุด ส่วนฤดูใบไม้ร่วงกลางคืนจะยาว กลางวัยจะสั้นที่สุด   ในเขตอบอุ่นและเขตหนาว จะแบ่งออกเป็น 4 ฤดู ได้แก่ ฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน ฤดูใบไม้ร่วง และฤดูหนาว ซึ่งโดยทั่วไป ฤดูในเขตอบอุ่นของซีกโลกเหนือจะมีระยะเวลาดังนี้        
                   
                   วสัน ตฤดู หรือ ฤดูใบไม้ผลิ :  ตั้งแต่ 21 มีนาคม    ถึง 20 มิถุนายน
                   คิมหันตฤดู หรือ ฤดูร้อน     :  ตั้งแต่ 21 มิถุนายน  ถึง 21 กันยายน
                   สารทฤดู หรือ ฤดูใบไม้ร่วง :   ตั้งแต่ 22 กันยายน  ถึง 21 ธันวาคม
                   เหมันตฤดู หรือ ฤดูหนาว    :  ตั้งแต่ 22 ธันวาคม   ถึง 20 มีนาคม

             ในเขตร้อน จะแบ่งออกเป็น 3 ฤดู ได้แก่ ฤดูแล้ง (ประกอบด้วยฤดูร้อนและฤดูหนาว) และฤดูฝน   การเกิดฤดูกาลต่างๆในโลกเรานี้ สามารถสังเกตได้จากการโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ เนื่องจากวงโคจรของโลกรอบะดวงอาทิตย์นั้นไม่ได้เป็นวงกลมพอดี ประกอบกับการที่โลกหมุนรอบตัวเองและแกนโลกเอียงเล็กน้อย ทำให้เกิดฤดูกาลต่างๆขึ้น





                     ประเทศไทยมีฤดูอย่างเป็นทางการเพียง 3 ฤดู คือ ฤดูร้อน (คิมหันตฤดู), ฤดูฝน (วัสสานฤดู) และฤดูหนาว (เหมันตฤดู) หลายคนมักเข้าใจว่า"วสันตฤดู"คือฤดูฝน ซึ่งจริงๆแล้วไม่ใช่ "วสันต์" เป็นคำบาลีและสันสกฤตหมายถึงฤดูใบไม้ผลิ "วัสสานะ" เป็นคำบาลี ตรงกับคำสันสกฤตว่า "วรรษ" (อ่านว่า วัด หรือ วัด-สะ) แล้วไทยแผลงตัว ว เป็นตัว พ กลายเป็น "พรรษ" (หรือ "พรรษา") หมายถึงฤดูฝน เพราะฉะนั้น ฤดูฝนต้องใช้ว่า"วัสสานฤดู" ไม่ใช่วสันตฤดู

                   สำหรับประเทศในซีกโลก เหนืออย่างสหรัฐอเมริกาจะมีฤดูทั้งหมดสี่ฤดู คือ ฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน ฤดูใบไม้ร่วงและฤดูหนาว ในการแบ่งฤดูกาลในประเทศทางซีกโลกเหนือมีความเกี่ยวข้องกับวันที่เกิด ปรากฏการณ์ที่สำคัญทางดาราศาสตร์สี่วัน คือ วสันตวิษุวัต ครีษมายัน ศารทวิษุวัต และ เหมายัน วสันตวิษุวัตและศารทวิษุวัต คือ วันที่กลางวันกับกลางคืนมีความยาวเท่าๆกันเนื่องจากพระอาทิตย์ขึ้นทางทิศ ตะวันออกพอดีและตกลงทางทิศตะวันตกพอดี ขณะที่ วันครีษมายัน ซึ่งเป็นวันที่กลางวันยาวนานกว่ากลางคืน ส่วนเหมายันคือวันที่กลางคืนยาวนานกว่ากลางวัน
         
                  คำว่าวิษุวัต ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า Equinox (อิควิน๊อกซ์) เป็นช่วงที่เส้นอิคลิปติค หรือเส้นระนาบที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ ตัดกับเส้นศูนย์สูตรฟ้า ทำให้มีช่วงเวลา กลางวัน กับกลางคืน ยาวเท่ากัน โดยที่ดวงอาทิตย์จะขึ้นใกล้จุดทิศตะวันออก และ ตกใกล้ จุดทิศตะวันตก มากที่สุด ในรอบ 1 ปี มีเหตุการณ์นี้เกิดขึ้น 2 วันในหนึ่งปี ซึ่งตรงกับวันที่ 21 มีนาคม ในภาษาอังกฤษเรียกว่า spring equinox เนื่องจากอยู่ในฤดูใบไม้ผลิจึงเกิดการสมาสคำเป็นคำว่า วสันตวิษุวัต เนื่องจาก วสันต หมายถึงฤดูใบไม้ผลิ ส่วนอีกครั้งเกิดขึ้นในวันที่ 22 กันยายน ตรงกับช่วงฤดูใบไม้ร่วงโดยตรงกับคำศัพท์ภาษาอังกฤษว่า autumnal equinox จึงใช้คำว่า ศารทวิษุวัต คำว่า ศารท สะกดอย่างคำสันสกฤต หรือ สารท สะกดอย่างคำบาลี นั้นหมายถึงช่วงฤดูใบไม้ร่วงนั่นเอง




               
 ส่วนครีษมายัน มาจากคำภาษาอังกฤษว่า Summer Solstice (ซัมเมอร์ โซล-สะติส) ซึ่งตรงกับวันที่ 21 มิถุนายน ดวงอาทิตย์จะอยู่สูงเลย เส้นศูนย์สูตรฟ้าไปทางทิศเหนือมากที่สุด (ดวงอาทิตย์อยู่สุดบนท้องฟ้า) ซึ่งเป็น วันที่กลางวันยาวนานที่สุดทางซีกโลกเหนือ ตรงกับฤดูร้อน "ครีษมายัน" อ่านว่า ครีด-สะ-มา-ยัน มาจากคำสันสกฤตว่า "ครีษมะ" ตรงกับคำบาลีว่า คิมหานะ หรือ คิมหันต์ แปลว่า ฤดูร้อน สนธิกับคำว่า "อายัน" แปลว่า การมาถึง คำว่า ครีษมายัน จึงแปลตรงตัวว่า การมาถึงฤดูร้อน ตรงกับคำว่า summer solstice ในภาษาอังกฤษนั่นเอง

                เหมายัน หรือWinter Solstice (วินเทอร์ โซล-สะติส) ตรงกับ วันที่ 22 ธันวาคม ดวงอาทิตย์จะอยู่ต่ำกว่า เส้นศูนย์สูตรฟ้าไปทางทิศใต้มากที่สุด (ดวงอาทิตย์อยู่ต่ำสุดบนท้องฟ้า) ซึ่งเป็นวันที่กลางวันสั้นที่สุด ทางซีกโลกเหนือ ตรงกับฤดูหนาว ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นจาก แกนเอียงของโลก 23.5 องศา กับแนวที่ตั้งฉากกับระนาบอิคลิปติค "เหมายัน" อ่านว่า เห-มา-ยัน มาจากคำบาลีสันสกฤตว่า "หิมะ" แปลว่า หิมะ อย่างที่เรารู้จักดีก็ได้ หรือแปลว่า ฤดูหนาว ก็ได้ สนธิกับคำว่า "อายัน" แปลว่า การมาถึง คำว่า เหมายัน จึงแปลตรงตัวว่า การมาถึงฤดูหนาว ตรงกับคำว่า winter solstice ในภาษาอังกฤษนั่นเอง

                 ดังนั้นประเทศในแถบซีกโลกเหนือบางประเทศอย่าง เช่นสหรัฐอเมริกาถือเอาวันวสัน ตวิษุวัต ซึ่งตรงกับวันที่ 21 มีนาคมเป็นวันเริ่มต้นของวสันตฤดูหรือฤดูใบไม้ผลิ ถือเอาวันครีษมายัน ซึ่งตรงกับวันที่ 21 มิถุนายนเป็นวันเริ่มต้นของคิมหันตฤดูหรือฤดูร้อน ถือเอาวันศารทวิษุวัต ซึ่งตรงกับวันที่ 22 กันยายนเป็นวันเริ่มต้นของศารทฤดูหรือฤดูใบไม้ร่วง ถือเอาวันเหมายัน ซึ่งประมาณตรงกับวันที่ 22 ธันวาคมเป็นวันแรกของเหมันตฤดูหรือฤดูหนาว วันเหล่านี้ห่างกันประมาณ 3 เดือนพอดิบพอดี




ฤดูกาล
(Seasons)




ฤดูกาล (Seasons)

ฤดูกาลเป็นการแบ่งปีเป็นช่วงๆ ตามสภาพอากาศ ฤดูกาลต่างๆ เป็นผลมาจากการที่แกนโลกเอียงไปจากระนาบการโคจรเล็กน้อย (ประมาณ 23.44 องศาในขณะที่โลกโคจรไปรอบๆ ดวงอาทิตย์นั้น โลกจะหันบางส่วนเข้าหาดวงอาทิตย์ตลอดเวลา และบางส่วนจะโดนแสงอาทิตย์น้อยกว่าส่วนอื่นๆ ส่วนที่โดนแสงอาทิตย์มาก ก็เป็นฤดูร้อนของส่วนนั้นๆ และส่วนที่โดนแสงอาทิตย์น้อยก็จะเป็นฤดูหนาว



รูปแสดงการเกิดฤดูกาลเมื่อโลกโคจรไปรอบ ๆ ดวงอาทิตย์ จะเห็นว่าซีกโลกเหนือกับซีกโลกใต้จะเป็นฤดูตรงข้ามกัน


ตำแหน่งต่างๆ บนโลกจะมีฤดูกาลไม่เหมือนกัน โดยในส่วนของโลกที่อยู่ระหว่างเขตหนาวกับเขตอบอุ่น (temperate regions) และบริเวณแถบขั้วโลก (polar regions) จะมี 4 ฤดูกาลคือ ฤดูใบไม้ผลิ (spring) ฤดูร้อน (summer) ฤดูใบไม้ร่วง (fall) และฤดูหนาว (winter) ส่วนบริเวณโซนเขตร้อน (tropical region) หรือบริเวณที่อยู่ใกล้ๆ เส้นศูนย์สูตรจะแบ่งได้ 3 ฤดูกาลคือ ฤดูร้อน (dry hot season) ฤดูฝน (wet season) และฤดูหนาว (dry cool season) ซึ่งประเทศไทยก็อยู่โซนเขตร้อน ดังนั้นประเทศไทยจึงมี 3 ฤดูกาล



รูปแสดงตำแน่งของโลกเมื่อมองจากทิศเหนือ โดยตำแน่งที่ขวาไกล ๆ นั้นคือ
ตำแหน่งที่โลกอยู่ไกลจากดวงอาทิตย์มากที่สุดในเดือนธันวาคม ที่เรียกว่า December solstice   




รูปแสดงตำแน่งของโลกเมื่อมองจากทิศใต้ โดยตำแน่งที่ซ้ายไกล ๆ นั้นคือ
ตำแหน่งที่โลกอยู่ไกลจากดวงอาทิตย์มากที่สุดในเดือนมิถุนายน ที่เรียกว่า June solstice  


ใน 1 ปี โลกจะอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์มากที่สุด 2 ครั้ง คือ ในเดือนธันวาคม และในเดือนมิถุนายน ซึ่งในเดือนธันวาคมนั้น จะตรงกับวันที่ 22 ธันวาคม เราเรียกว่า December solstice ส่วนในเดือนมิถุนายนนั้นจะตรงกับวันที่ 21 มิถุนายน เราเรียกว่า June solstice
ส่วนของโลกที่อยู่ระหว่างเขตหนาวกับเขตอบอุ่น (temperate regions) และบริเวณแถบขั้วโลก (polar regions) เมื่อฤดูกาลเปลี่ยนไป ความเข้มของแสงของดวงอาทิตย์ก็ต่างกันไปด้วย ซึ่งขึ้นอยู่กับละติจูด และขึ้นอยู่กับน้ำมีอยู่ใกล้ๆ บริเวณนั้นๆ ด้วย เช่นบริเวณขั้วโลกใต้ ซึ่งเป็นบริเวณที่อยู่ระหว่างทวีปแอนตาร์กติกและอยู่ไกลจากอิทธิพลของมหาสมุทรทางใต้ (the southern oceans) พอสมควร ในขณะที่บริเวณขั้วโลกเหนือ ซึ่งอยู่ในมหาสมุทรอาร์กติก (Arctic Ocean) ทำให้ภูมิอากาศแถบขั้วโลกเหนือได้รับการปรับตามมหาสมุทรอาร์กติกนั้น ทำให้ภูมิอากาศไม่หนาวหรือร้อนมากเกินไป ในขณะที่แถบขั้วโลกใต้จะหนาวมากในฤดูหนาว ซึ่งหนาวกว่าฤดูหนาวแถบขั้วโลกเหนือ
ส่วนของโลกบริเวณโซนเขตร้อน จะไม่มีความแตกต่างของความเข้มของแสงที่ได้รับจากดวงอาทิตย์มากนักในฤดูกาลต่างๆ



รูปแสดงโลกระหว่างฤดูกาลต่าง ๆ

การเกิดฤดูกาลของโลก
                               ฤดูกาลเกิดขึ้นจากการที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ เนื่องจากแกนโลกเอียงเป็นมุม 23.5 องศา จึงทำให้ในแต่ละช่วงของปี แต่ละบริเวณจะได้รับแสงแดดไม่เท่ากัน ทำให้มีอุณหภูมิต่างกัน จึงเกิดเป็นฤดูกาลต่าง ๆ ขึ้น
                              วันที่ 21 มีนาคม ตำแหน่งแสงตั้งฉากของดวงอาทิตย์อยู่ที่เส้นศูนย์สูตรจุดขั้วโลกเหนือกับขั้วโลกใต้จะสว่าง เรียกวา วันวสันตวิษุวัต (vernal equinox) โลกจะมีกลางวันและกลางคืนเท่ากัน ช่วงละ 12 ชั่วโมง
                              วันที่ 21 มิถุนายน ตำแหน่งตั้งฉากของดวงอาทิตย์จะอยู่เหนือสุดเส้นทรอปิกออฟแคนเซอร์ ทำให้พื้นที่ตั้งแต่เส้นศูนย์สูตไปทางขั้วโลกเหนือ เรียกว่า ซีกโลกเหนือ จะมีเวลาที่เป็นกลางวันหรือสว่างมากกว่า 12 ชั่วโมง ส่วนพื้นที่ที่อยู่ใต้เส้นศูนย์สูตรลงไป เป็นซีกโลกใต้ จะมีเวลากลางวันสั้นกว่ากลางคืน ซึ่งตรงกันข้ามกับปรากฏการณ์ในซีกโลกเหนือ วันที่ 21 มิถุนายน คือ วันอุตรายันหรือครีษมายัน (summer solstice)ตำแหน่งตั้งฉากของดวงอาทิตย์ที่เคลื่อนขึ้นมาอยู่ ณ เส้นทรอปิกออฟแคนเซอร์นั้น ทำให้ทุกพื้นที่ที่อยู่เหนือเส้นอาร์กติกเซอร์เคิล มีช่วงการรับแสงจากดวงอาทิตย์ยาวนานที่สุดถึง 24 ชั่วโมง (ที่ซีกโลกใต้พื้นที่ตั้งแต่เส้นแอนตาร์กติดเซอร์เคิลไปถึงขั้วโลกใต้จะมืด 24 ชั่วโมง ) ดินแดนที่อยู่เหนือเส้นอาร์กติกเซอร์เคิล ได้แก่ ประเทศนอร์เวย์ ฟินแลนด์ สวีเดน ตอนเหนือของสหพันธรัฐรัสเซียและตอนเหนือของเกาะกรีนแลนด์ เรียกปรากฏการณ์นี้ว่า"พระอาทิตย์เที่ยงคืน หรือดวงอาทิตย์ไม่ลับขอบฟ้า" (Midnight Sun)
                               วันที่ 22 กันยายน คือ "วันศารทวิษุวัต" (autumnal equinox) ตำแหน่งตั้งฉากของดวงอาทิตย์ย้ายลงมาจากวันที่ 21 มิถุนายน วันละ 15 ลิปดาและมาตั้งฉากที่เส้นศูนย์สูตรอีกครั้งหนึ่ง ทำให้ปรากฏการณ์ของซีกโลกเหนือที่เคยได้รับแสงอาทิตย์ยาวนานค่อยๆลดลง และจะมีช่วงเวลาระหว่างกลางวันกับกลางคืนเท่ากันอีกครั้งในวันนี้ นับจาดนี้ต่อไปตำแหน่งตั้งฉากของดวงอาทิตย์จะเลื่อนลงใต้เส้นศูนย์สูตร ทำให้ดินแดนทางซีกโลกใต้เริ่มมีช่วงเวลากลางวันยาวขึ้นและเวลากลางคืนสั้นลง
                              วันที่ 21 ธันวาคม คือ " วันทักษิณายันหรือเหมายัน " (Winter solstice) ตำแหน่งตั้งฉากของดวงอาทิตย์ลงไปใต้สุดที่เส้นทรอปิกออฟแคปริคอร์น ทำให้พื่นที่ซีกโลกใต้มีเวลากลางวันยาวทีสุดและที่ทวีปแอนตาร์กติกาจะได้เห็นปรากฏการณ์ "ดวงอาทิตย์เที่ยงคืน" เช่นกันสำหรับซีกโลกเหนือในระยะนี้จะได้รับแสงอาทิตย์สั้นทีสุด จึงเป็นช่วงฤดูหนาว ส่วนซีกโลกใต้เป็นฤดูร้อน ถัดจากวันที่ 21 ธันวาคมไป ตำแหน่งตั้งฉากของดวงอาทิตย์จะขยับขึ้นไปที่เส้นศูนย์สูตรและครบ 1 รอบในวันที่ 21 มีนาคม







อ้างอิง
http://www.thaibizcenter.com/KnowledgeCenter.asp?kid=767  การเกิดฤดูกาล 18/09/2010



จัดทำโดย  นางสาว กัณติมาภรณ์     ลูกเมือง
เลขที่ 24 ชั้น ม.6/6

5 ความคิดเห็น:

  1. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  2. อยาก coppy รูปได้อะคะ

    ตอบลบ
  3. มันเกิดจากโลกโครจรรอบดวงอาทิตย์มั้ยคะ ฤดูกาลเนี่ย?

    ตอบลบ
  4. มันเกิดจากโลกโครจรรอบดวงอาทิตย์มั้ยคะ ฤดูกาลเนี่ย?

    ตอบลบ
  5. ไม่ระบุชื่อ31 มกราคม 2565 เวลา 10:27

    Merkur-Merkur-Merkur-Merkur-Merkur-Merkur-Merkur-Merkur-Merkur
    Buy 온카지노 Merkur-Merkur-Merkur-Merkur-Merkur-Merkur-Merkur-Merkur-Merkur-Merkur-Merkur-Merkur-Merkur-Merkur-Merkur.€24.89 · ‎In worrione stock 메리트 카지노 주소

    ตอบลบ